วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง โคมไฟจากด้าย

จัดทำโดย
                                    เด็กชายปวริศ              มหาวรรณศรี    เลขที่ 1
                                    เด็กหญิงธนพร            เผ่ากันทะ          เลขที่ 13
                                    เด็กหญิงพิชชาภรณ์     วรบุตร             เลขที่ 20
                                    เด็กหญิงศศิวิมล          พรหมเสน        เลขที่ 23
                                    เด็กหญิงสกุลกาญจน์   สาตนอก          เลขที่ 24
เสนอ
คุณครูศศิร์อร  ศักดิ์กิตติพงศา
รายงานโครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36



                      


กิตติกรรมประกาศ
                         โครงงานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่อาจจะนำมากล่าวได้ทั้งหมด  ซึ่งผู้มีพระคุณท่านแรกที่ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบพระคุณคือคุณครูศศิร์อร ศักดิ์กิตติพงศาครูผู้สอนที่ได้ให้ความรู้  คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้การเขียนรายงานค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้สมบูรณ์สมาชิกในกลุ่มที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด  และให้กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าตลอดมา
                           ขอขอบคุณคุณครูโรงเรียนพะเยาพิทยาคมทุกสาขาวิชาที่ได้ฝึกสอน ได้คำแนะนำในการจัดทำรายงานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้ที่ไม่ได้กล่าวนามและ
อยู่เบื้องหลังในความสำเร็จที่ได้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและให้กำลังใจตลอดมา

                                                                                                                                                                ผู้จัดทำ







โครงงาน               โคมไฟจากด้าย
ผู้จัดทำ                           1. เด็กชายปวริศ                   มหาวรรณศรี        เลขที่ 1
                                2. เด็กหญิงธนพร               เผ่ากันทะ              เลขที่ 13
                                3. เด็กหญิงพิชชาภรณ์       วรบุตร                   เลขที่ 20               
                                4. เด็กหญิงศศิวิมล              พรหมเสน            เลขที่ 23
                                5.เด็กหญิงสกลุกาญจน์      สาตนอก                เลขที่ 24
อาจารย์ที่ปรึกษา   คุณครูศศิร์อร          ศักดิ์กิตติพงศา
สถานศึกษา          โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ
                         เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุที่มีราคาค่อนข้างแพงมาทำเป็นโคมไฟ ราคาของโคมไฟจึงสูงตามราคาของวัสดุไป จึงได้มีการคิดค้นโคมไฟที่ใช้วัสดุที่มีราคาถูกหรือเป็นของเหลือใช้ที่หาได้ตามบ้าน เพื่อให้ราคาโคมไฟไม่สูงจนเกินไป ช่วยลดการสูญเสียของทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งทำให้เราประหยัดงบประมาณในการประดิษฐ์ เพื่อให้เราใช้จ่ายอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย
ผู้พัฒนาจึงได้คิดโคมไฟจากด้าย ซึ่งเป็นวัสดุที่มีราคาถูกเป็นของเหลือใช้ที่หาได้ง่ายตามบ้าน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์และทำได้ง่าย
เพราะเหตุนี้จึงได้ทำโคมไฟที่ทำมาจากด้ายจากโครงงาน โคมไฟจากด้าย
                          โครงงานที่จะพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณได้เพราะในปัจจุบันได้มีการใช้วัสดุที่มีราคาสูงในการผลิตหรือประดิษฐ์โคมไฟ ซึ่งมันมีราคาที่สูงจึงไม่ค่อยนิยมในการซื้อหรือประดิษฐ์โคมไฟ



 บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          ปัจจุบันคนนิยมตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ มากมาย หรือแม้กระทั่งโคมไฟที่ช่วยให้แสงสว่าง    แต่จะให้มีประโยชน์มากขึ้นจะต้องสวยงาม ราคาไม่แพงเกินไป  เพื่อจะให้ได้ทั้งการตกแต่งบ้านและการอำนวยความสะดวกสบาย การผลิตโคมไฟสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิด เช่น เหล็ก  ไม้  อะลูมิเนียมแต่คนไทยนิยมนำวัสดุดังกล่าวนำมาประดิษฐ์ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง แต่ความเป็นจริงแล้วโคมไฟสามารถผลิตจากวัสดุอย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น ลูกโป่ง เส้นด้ายหรือแม้แต่วัสดุเหลือใช้ต่างๆ เป็นต้น
                เมื่อกล่าวถึงเส้นด้ายกับลูกโป่งซึ่งสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟได้ ทำให้เกิดแสงสว่างที่เล็ดลอดออกมาจากความห่างระหว่างเส้นด้ายทำให้เกิดความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง  ผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะ นำเอาเส้นด้ายกับลูกโป่งมาประยุกต์ใช้ด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรียบง่าย หาได้ทั่วไป ละราคาไม่แพง     เพื่อศึกษาเผยแพร่ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และทักษะดังกล่าวสู่ผู้สนใจต่อไป
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของตกแต่งและใช้งานได้จริง
  2. เพื่อศึกษาวิธีการใช้โปรแกรม Google sketchupในการออกแบบโครงสร้างของสิ่งประดิษฐ์
  3. เพื่อศึกษาการจัดทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
1.             ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของตกแต่งและใช้งานได้จริง
2.             ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Google sketchupขั้นพื้นฐาน
3.             ได้รู้และเข้าใจในการจัดทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

      ในการจัดทำโครงงาน และศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ การทำโคมไฟจากเส้นด้ายนี้
ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับ วิธีการทำโคมไฟ เส้นด้ายที่ใช้ในการทำ โดยลำดับที่เป็นเนื้อหาสาระโดยสำคัญดังต่อไปนี้
                2.1ความหมายของโคมไฟ 
                2.2 ประเภทของด้ายที่ใช้ในการทำ
                2.3 กระบวนการทางเทคโนโลยี
                2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโคมไฟ
                โคมไฟ หมายถึง เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ ตะเกียงเครื่องตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับแสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า ลักษณะนามว่า โคม ดวง ใบ ลูก เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม ลักษณะนามว่า ใบ ลูก

ประเภทของด้ายที่ใช้ในการทำ
-   ด้ายเย็บผ้าเป็นด้ายที่ทำด้วยใย เรียกว่า ใยฝ้าย
-   ด้ายไหมพรม เส้นไหมจะมีความหนาและนุ่มเหมาะสำหรับนำไปถักเป็นตุ๊กตา เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ
กระบวนการทางเทคโนโลยี
กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัย เรื่องโคมไฟกะลามะพร้าว 
เนื่องจากในปัจจุบันวัสดุที่เหลือใช้จากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มากขึ้น   อาจมีวัสดุบางประเภทที่มีมากในท้องถิ่น  อาจนำมาเเปรรูปให้เกิดความสวยงามและใช้สอยได้  สามารถนำมาประดิษฐ์เพื่อจำหน่ายหารายได้เสริมก็ได้   มะพร้าวเป็นที่หาง่ายในท้องถิ่นตามบ้านเรือนเเละอยู่กับชาวไทยมานานนับปี จึงคิดว่ามะพร้าวในเขต อำเภอห้วยเเถลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาง่ายตามบ้านเรือน                                                                                                                  กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นประโยชน์จากกะลามะพร้าวของมะพร้าวนั้นนั้นก็คือ การนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟ  ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีการออกเเบบโคมไฟในหลากหลายรูปเเบบ เราจึงสร้างสรรค์รูปเเบบของโคมไฟในรุปแบบต่างๆ ได้  อาจสามารถนำมาประดับตกเเต่งบ้านเรือนหรือตามสถานที่ต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความสวยงามเเก่ผู้พบเห็น  อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มรายได้ในระหว่างเรียนเเก่นักเรียนด้วย




   บทที่3
วิธีการดําเนินงานศึกษาค้นคว้า

วิธีการดำเนินการวิจัยการทำโคมไฟจากเส้นด้าย
ขั้นที่ 1 กําหนดปัญหาหรือความต้องการ
ปัญหาคือ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมใช้โคมไฟที่ทำจากอะลูมิเนียมหรือเหล็กต่างๆมากมาย มักมีราคาค่อนข้างแพง
แนวทางการแก้ปัญหาคือ นำวัสดุจากธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น ด้ายที่หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป มีราคาถูกและสามารถนำมาทำโคมไฟตกแต่งบ้านได้และทำให้เกิดความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
                จากการแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้นำวัสดุจากธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น ด้ายที่หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป มีราคาถูกและสามารถนำมาทำโคมไฟตกแต่งบ้านได้และทำให้เกิดความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้ 
1.  รูปแบบของโคมไฟจากเส้นด้าย

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
                      โคมไฟจากเส้นด้ายเมื่อประดิษฐ์แล้วสามารถนำมาแขวนติดกับผนังรอบบ้านหรือจะนำไปตกแต่งตามเทศกาลงานต่างๆ ลูกโป่งซึ่งสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟได้ ทำให้เกิดแสงสว่างที่เล็ดลอดออกมาจากความห่างระหว่างเส้นด้ายทำให้เกิดความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง นำเอาเส้นด้ายกับลูกโป่งมาประยุกต์ใช้ด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรียบง่าย หาได้ทั่วไปและราคาไม่แพง

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
1.             การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด





   2.วัสดุอุปกรณ์
2.1 เชือกป่าน (จะสีธรรมชาติ หรือ สีอื่นๆ ก็ได้)
2.2  กาวลาเท็กซ์
         2.3 ชามหรือกะละมัง
         2.4 น้ำเปล่า
         2.5 กรรไกร
         2.6 ลูกโป่งลูกเล็ก
         2.7 เข็ม หรือ ไม้ลูกชิ้นปลายแหลม
         2.8 หลอดและสายไฟ
    
3.ลงมือสร้าง
1.1      นำลูกโป่งมาเป่าให้ได้ขนาดพอเหมาะ หรือขนาดของโคมไฟที่ต้องการ

1          1.2      ทากาวลงบนลูกโป่งพร้อมกับทากาวลงบนด้าย


1.3      นำด้ายมาพันรอบลูกโป่งไปเรื่อยๆ จนให้เหลือรูเล็กน้อยให้แสงพอลอดผ่านได้

1.4    ปล่อยลมออกจากลูกโป่งแล้วนำลูกโป่งออกมา ตัดด้ายออกเล็กน้อยให้เป็นรูพอให้หลอดไฟเข้าไปได้ และ    นำหลอดไฟยัดเข้าไป


ขั้นที่ 5 ทดสอบ
          1. ทดสอบการทำงานของโคมไฟโดยเปิดสวิตช์และลองพบว่าเมื่อถือในแนวดิ่ง โคมไฟยังไม่แข็งแรงพอ
          2. หลังจากทากาวทับอีก พบว่าโคมไฟแข็งแรงขึ้น สามารถรับแรงในแนวดิ่งได้เมื่อนำไปใช้งานโดยการห้อยไว้

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
                การปรับปรุงโดยการทากาวทับอีก 1-2 ชั้น เมื่อพบว่าเจาะลมออกจากลูกโป่งแล้ว รูปทรงของโคมไฟที่ได้ไม่แข็งพอและหลุดลุ่ยได้ง่าย

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
                การประเมินชิ้นงานว่าสามารถใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการหรือไม่และพิจารณาถึงชิ้นงานที่สร้างขึ้นตรงตามความต้องการที่ตั้งไว้โดยแบบสอบถามมีประเด็นการประเมินดังนี้
1. มีประโยชน์ในการใช้สอย
2. วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงทนทาน
3. มีราคาย่อมเยา
4. ความสะดวกในการใช้งาน

ตัวอย่างการประเมิน

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
รายงาน เรื่อง โคมไฟจากด้าย  มีผลการดำเนินการดังต่อไปนี้
1.             ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.             ได้นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
3.             ได้รับความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์โคมไฟจากด้าย
4.             ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ในการประยุกต์สิ่งของเหลือใช้
5.             ได้ลงมือทำสิ่งประดิษฐ์การจากวัสดุที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง


บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
                การศึกษาเรื่อง โคมไฟจากด้าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
1.             ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
2.             เพื่อศึกษาวิธีการใช้โปรแกรม Google sketchupในการออกแบบโครงสร้างของสิ่งประดิษฐ์
3.             เพื่อศึกษาการจัดทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
4.             ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและการทดลองใช้จริง
ซึ่งสามารถประเมินได้ว่า
1.             สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้
2.             ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Google sketchupขั้นพื้นฐาน
3.             สวยงาม ดึงดูดใจผู้ใช้ พกพาสะดวก
4.             ได้รู้และเข้าใจในการจัดทำโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
5.             แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานระยะยาว
6.             ต้นทุนไม่สูงมาก
บรรณานุกรม

การทำโคมไฟจากด้าย. [ออนไลน์].เข้าถึงจาก http://lamp-janya.blogspot.com/
                สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559.

ตัวอย่างโครงงานโคมไฟจากด้าย. [ออนไลน์].เข้าถึงจากhttp://orawanthunyawat.blogspot.com
                สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559.

การดาวน์โหลดโปรแกรมgoogle sketch up. [ออนไลน์].เข้าถึงจากwww.youtube.com/watch?v=9oeVwnv6f3Y
                สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2559.

โคมไฟจากด้าย. [ออนไลน์].เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=mmSp0GWnvRM
                สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2559.